เมนู

กล่าวว่า ช่างเถิดขอรับ นิมนต์ท่านอยู่เถิด พวกกระผมจักแสวงหาอาหาร
มาถวาย ดังนี้ แล้วพากันไป. ลำดับนั้น แม้สามเณรก็นำเอานมส้มเป็น
ต้นมาปรุงข้าวและกับ แล้วนำเข้าไปถวาย. เมื่อท่านกำลังฉันอาหารนั้น
อยู่นั่นแหละ พวกอุปัฏฐากยังส่งภัตตาหารไปถวาย. ท่านก็ฉันแต่ที่ชอบ ๆ
แต่นั้น. ลำดับนั้นภิกษุทั้งหลายรับบิณฑบาตมา. ท่านก็ฉันแต่ที่ชอบใจ
จนล้นคอหอย. ท่านเป็นอยู่อย่างนี้ถึง 4 เดือน. ภิกษุรูปนี้ เรียกว่า มีชีวิต
อยู่อย่างเศรษฐีหัวโล้น มิใช่มีชีวิตอยู่อย่างสมณะ. ภิกษุแบบนี้ ย่อมชื่อ
ว่าเป็นผู้สะสมอามิส.
ก็ในที่อยู่ของภิกษุ จะเก็บได้เพียงเท่านี้ คือ ข้าวสารทะนาน 1
น้ำอ้อยงบ 1 เนยใสประมาณ 4 ส่วน เพื่อประโยชน์สำหรับพวกที่เข้ามา
ผิดเวลา. ด้วยว่าพวกโจรเหล่านั้น เมื่อไม่ได้อามิสปฏิสันถารเท่านี้ พึง
ปลงแม้ชีวิต เพราะฉะนั้น ถ้าเสบียงเพียงเท่านี้ก็ไม่มี แม้จะให้นำมาเอง
เก็บไว้ก็ควร. อนึ่ง ในเวลาไม่สบาย ในที่อยู่นี้มีสิ่งใดที่เป็นกัปปิยะ
จะฉันสิ่งนั้นแม้ด้วยตนเองก็ควร. ส่วนในกัปปิยกุฎี แม้จะเก็บไว้มาก
ก็ไม่ชื่อว่าเป็นการสะสม. แต่สำหรับพระตถาคต ที่จะชื่อว่าทรงเก็บข้าว
สารทะนานหนึ่งเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือชิ้นผ้าเก่าประมาณองคุลี
ด้วยมีพระพุทธดำริว่า สิ่งนี้จักมีแก่เราในวันหรือในวันพรุ่งนี้ ดังนี้
หามีไม่.

ในการดูที่เป็นข้าศึก มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้


ที่ชื่อว่า การฟ้อนรำ ได้แก่การฟ้อนรำอย่างใดอย่างหนึ่ง. ภิกษุ
แม้เดินผ่านไปทางนั้นจะชะเง้อดูก็ไม่ควร. ก็วินิจฉัยโดยพิสดารในอธิการนี้
พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในสมันตปาสาทิกาอรรถกถาพระวินัยนั่นแหละ.

และในบทพระสูตรที่เกี่ยวด้วยสิกขาบททุกแห่ง ก็พึงทราบวินิจฉัยอย่าง
เดียวกับในอธิการนี้.
ก็เบื้องหน้าแต่นี้ไป จะไม่กล่าวเพียงเท่านี้ จักพรรณนาให้พอแก่
ประโยชน์ในข้อนั้น ๆ ทีเดียวฉะนี้แล.
บทว่า เปกฺขํ ได้แก่มหรสพมีการรำเป็นต้น.
บทว่า อกฺขานํ ได้แก่การเล่าเรื่องสงครามมีภารตยุทธและราม-
เกียรติ์เป็นต้น. ภิกษุแม้จะไปในที่ที่เขาเล่านิยายนั้น ก็ไม่ควร.
บทว่า ปาณิสฺสรํ ได้แก่กังสดาล. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การ
เล่นปรบฝ่ามือ ดังนี้ก็มี.
บทว่า เวตาฬํ ได้แก่ตีกลองฆนะ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า
ปลุกร่างของคนตายให้ลุกขึ้นด้วยมนต์ ดังนี้ก็มี.
บทว่า กุมฺภถูนํ ได้แก่ตีกลอง 4 เหลี่ยม. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า
เสียงหม้อ ดังนี้ก็มี.
บทว่า โสภนครกํ ได้แก่ฉากละครหรือภาพบ้านเมืองที่สวยงาม.
อธิบายว่า เป็นภาพวิจิตรด้วยปฏิภาณ.
บทว่า จณฺฑาลํ ได้แก่การเล่นขลุบทำด้วยเหล็ก อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า การเล่นซักผ้าเปลือกไม้ของพวกคนจัณฑาล.
บทว่า วํสํ ได้แก่การเล่นยกไม้ไผ่ขึ้น.
บทว่า โธวนํ ได้แก่การเล่นล้างกระดูก. ได้ยินว่า ในชนบท
บางแห่ง เมื่อญาติตาย เขายังไม่เผา เก็บฝังไว้ ครั้นรู้ว่า ศพเหล่านั้น

เปื่อยเน่าแล้ว ก็นำออกมาล้างอัฐิ ทาด้วยของหอม แล้วเก็บไว้. ใน
คราวนักษัตรฤกษ์ เขาตั้งอัฐิไว้แห่งหนึ่ง ตั้งสุราเป็นต้นไว้แห่งหนึ่ง แล้ว
ก็พากันร้องไห้คร่ำครวญดื่มเหล้ากัน. ข้อนี้สมด้วยพระบาลีที่พระผู้มีพระ
ภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีพิธีชื่อว่า การเล่นล้างอัฐิใน
ชนบทตอนใต้ ในพิธีนั้นมีข้าวบ้าง น้ำบ้าง ของเคี้ยวบ้าง ของบริโภค
บ้าง ของลิ้มบ้าง เป็นอันมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พิธีล้างกระดูกนั้น
มีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า พิธีล้างอัฐินั้นไม่มี. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
พิธีล้างกระดูกด้วยการเล่นกล ชื่อว่า การเล่นหน้าศพ ดังนี้ก็มี.
ในบรรดาการชนช้างเป็นต้น การต่อสู้กับช้างเป็นต้นก็ดี การให้
ช้างชนกันก็ดี การดูช้างชนกันก็ดี ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งนั้น.
บทว่า นิพฺพุทฺธํ ได้แก่การสู้กันของมวยปล้ำ.
บทว่า อุยฺโยธิกํ ได้แก่สถานที่ซ้อมรบกัน.
บทว่า พลคฺคํ ได้แก่สถานที่ของหมู่พลรบ.
บทว่า เสนาพฺยูหํ ได้แก่การจัดกองทัพ คือ การตั้งทัพด้วย
สามารถแห่งการจัดกระบวนทัพ มีกระบวนเกวียนเป็นต้น.
บทว่า อนีกทสฺสนํ ได้แก่การดูกองทัพที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมี
อาทิว่า ช้าง 3 เชือก เป็นอย่างต่ำ ชื่อว่า ทัพช้าง ดังนี้.
ชื่อว่า ปมาทัฏฐาน เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท. การพนัน
นั้นด้วย เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทด้วย เหตุนั้น ชื่อว่า การพนันเป็น
ที่ตั้งแห่งความประมาท.
หมากรุก ชื่อว่า เล่นแถวละ 8 ตา เพราะมีตาอยู่แถวละ 8 ๆ

แม้ในการเล่นหมากรุกแถวละ 10 ตา ก็มีนัยดังนี้เหมือนกัน.
บทว่า อากาสํ ได้แก่การเล่นหมากเก็บ เหมือนในการเล่น
หมากรุก แถวละ 8 ตา แถวละ 10 ตา.
บทว่า ปริหารปถํ ได้แก่การเล่นของคนที่ทำเป็นวงกลมไว้หลาย
แนวด้วยกัน บนพื้นดิน เดินเลี่ยงกันไปในวงกลมนั้น ๆ.
บทว่า สนฺติกํ ได้แก่เล่นใกล้ ๆ กัน ( เล่นอีขีดอีเขียน) โดยเอา
เบี้ยหรือก้อนกรวดกองรวมกันไว้ ไม่ให้เคลื่อน เอาเล็บเขี่ยออกไปและ
เขี่ยเข้ามา ถ้าไหวบางเม็ดในนั้น เป็นอันแพ้ นี้เป็นชื่อของการเล่น
แบบนั้น.
บทว่า ขลิกํ ได้แก่ การเล่นสะกาบนกระดานสะกา.
เล่นเอาไม้ท่อนยาวตีไม้ท่อนสั้น เรียกว่า เล่นไม้หึ่ง.
บทว่า สลากหตฺถํ ได้แก่การเล่นโดยเอาครั่งหรือฝาง หรือ
แป้งเปียก ชุบมือที่กำซี่ไม้ไว้ทายว่า จะเป็นรูปอะไร ดีดไปที่พื้นดินหรือ
ที่ฝา แสดงรูปช้างม้าเป็นต้น.
บทว่า อกฺขํ ได้แก่เล่นขลุบ. เล่นเป่าหลอดที่ทำด้วยใบไม้นั้น
เรียกว่า เล่นเป่าใบไม้.
บทว่า วงฺกกํ ได้แก่ไถเล็ก ๆ เป็นเครื่องเล่นของเด็กชาวบ้าน.
บทว่า โมกฺขจิกํ ได้แก่เล่นพลิกกลับตัวไปมา (ตีลังกา) มีอธิบาย
ว่า จับท่อนไม้ไว้ในอากาศ หรือวางศีรษะไว้บนพื้น เล่นพลิกตัวโดยเอา
ข้างล่างไว้ข้างบน เอาข้างบนไว้ข้างล่าง.
ที่เรียกว่า เล่นกังหัน ได้แก่เล่นจักรที่หมุนได้ด้วยลมพัด ที่ทำด้วย
ใบตาลเป็นต้น.

ที่เรียกว่า เล่นตวงทราย ได้แก่เอาทะนานที่ทำด้วยใบไม้ เล่น
ตวงทรายเป็นต้น.
บทว่า รถกํ ความว่า เล่นรถเล็ก ๆ.
บทว่า ธนุกํ ความว่า เล่นธนูเล็ก ๆ นั่นเอง.
ที่เรียกว่า เล่นทายอักษร ได้แก่เล่นให้รู้อักษร ในอากาศ หรือ
บนหลัง.
ที่ชื่อว่า เล่นทายใจ ได้แก่เล่นให้รู้เรื่องที่คิดด้วยใจ.
ที่ชื่อว่า เล่นเลียนคนพิการ ได้แก่เล่นโดยแสดงเลียนแบบ โทษ
ของคนพิการ มีคนตาบอด คนง่อย และคนค่อมเป็นต้น.
บทว่า อาสนฺทึ ได้แก่อาสนะที่เกินประมาณ. ก็ที่ทำเป็นทุติยา-
วิภัตติทุกบท เล็งถึงคำว่า อนุยุตฺตา วิหรนฺติ นี้.
บทว่า ปลฺลงฺโก ได้แก่เตียงที่ทำรูปสัตว์ร้ายไว้ที่เท้า.
บทว่า โคณโก ได้แก่ผ้าโกเชาว์ผืนใหญ่มีขนยาว. ได้ยินว่า ผ้า
โกเชาว์ผืนใหญ่นั้น มีขนยาวเกิน 4 องคุลี.
บทว่า จิตตฺกํ ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ วิจิตรด้วยเครื่อง
ร้อยรัดชนิดหนึ่ง.
บทว่า ปฏิกา ได้แก่เครื่องลาดสีขาวทำด้วยขนแกะ.
บทว่า ปฏลิกา ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยชนแกะ เป็นรูปดอกไม้ทึบ
ซึ่งบางคนเรียกว่ามีทรงเป็นใบมะขามป้อม ดังนี้ก็มี.
บทว่า ตูลิกา ได้แก่เครื่องลาดยัดนุ่น เต็มไปด้วยนุ่น 3 ชนิด
ชนิดใดชนิดหนึ่ง.
บทว่า วิกติกา ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ วิจิตรด้วยรูปสีหะ

และเสือเป็นต้น.
บทว่า อุทฺธโลมึ ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยขนแกะมีชาย 2 ข้าง.
อาจารย์บางท่านกล่าวว่า เป็นรูปดอกไม้ชูขึ้นข้างเดียวกัน
บทว่า เอกนฺตโลมึ ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยขนแกะมีชายข้างเดียว.
บางท่านกล่าวว่า เป็นรูปดอกไม้ชูขึ้น 2 ข้าง ดังนี้ก็มี.
บทว่า กฏฺฐิสฺสํ ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยใยไหม ขลิบแก้ว.
บทว่า โกเสยฺยํ ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยเส้นไหม ขลิบแก้วเหมือน
กัน. ส่วนผ้าไหมล้วน ตรัสไว้ในพระวินัยว่าควร. แต่ในอรรถกถาทีฆนิกาย
กล่าวว่า เว้นเครื่องสาดยัดนุ่น เครื่องลาดที่ทอด้วยรัตนะมีพรมที่ทำด้วย
ขนสัตว์เป็นต้น ทุกอย่างเลย ไม่ควร.
บทว่า กุตฺตกํ ได้แก่เครื่องลาดทำด้วยขนแกะ พอที่นางฟ้อน
16 นางยืนฟ้อนได้.
บทว่า หตฺถตฺถรํ อสฺสตฺถรํ ได้แก่เครื่องลาดที่ใช้ลาดบนหลัง
ช้างหลังม้านั่นเอง. แม้ในเครื่องลาดในรถ ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อชินปฺปเวณึ ได้แก่เครื่องลาดเย็บด้วยหนังเสือพอขนาดเตียง.
บทว่า กทลิมิคปวรปจฺจตฺถรณํ ได้แก่เครื่องลาดอย่างดีที่ทำด้วย
หนังชะมด. อธิบายว่า เป็นเครื่องชั้นสูงสุด. ได้ยินว่า เครื่องลาดนั้น
เขาลาดเย็บทำหนังชะหมดบนผ้าขาว.
บทว่า สอุตฺตรฺจฺฉทํ ได้แก่เครื่องลาดพร้อมเพดานบน คือพร้อม
กับเพดานสีแดงที่ติดไว้เบื้องบน. แม้เพดานสีขาว เมื่อมีเครื่องลาดเป็น
อกัปปิยะอยู่ภายใต้ ไม่ควร แต่เมื่อไม่มี ควรอยู่.
บทว่า อุภโตโลหิตกุปธานํ ได้แก่เครื่องลาดมีหมอนสีแดงอยู่

2 ข้างเตียง คือหมอนหนุนศีรษะและหมอนหนุนเท้า นั่นไม่ควร. ส่วน
หมอนใบเดียวเท่านั้น ทั้ง 2 ข้างมีสีแดงก็ดี มีสีดอกปทุมก็ดี มีลวดลาย
วิจิตรก็ดี ถ้าได้ขนาด ก็ควร แต่หมอนใหญ่ท่านห้าม. หมอนที่สีไม่แดง
แม้ 2 ใบก็ควรเหมือนกัน. ได้เกินกว่า 2 ใบนั้น ควรให้แก่ภิกษุรูป
อื่น ๆ. เมื่อไม่อาจจะให้ได้ แม้จะลาดขวางไว้บนเตียง ปูเครื่องลาดไว้
ข้างบนแล้วนอน ก็ย่อมได้. และพึงปฏิบัติตามนัยที่ตรัสไว้ในเรื่องเตียง
ที่มีเท้าเกินประมาณเป็นต้นนั่นเทียว. ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ตัดเท้าเตียงที่มีเท้าเกินประมาณแล้วใช้สอยได้ อนุญาตให้
ทำลายรูปสัตว์ร้ายของเตียง มีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้ายแล้วใช้สอยได้ อนุญาต
ให้แหวะเครื่องลาดที่ยัดนุ่น ทำเป็นหมอนได้ อนุญาตให้ทำเครื่องลาดฟื้น
ที่เหลือได้ ดังนี้.

ในเรื่องอบตัวเป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้


กลิ่นกายของทารกที่คลอดจากครรภ์มารดา จะหมดไปในเวลาที่มี
อายุประมาณ 12 ปี คนทั้งหลายจึงอบตัวด้วยจุณของหอมเป็นต้น เพื่อ
กำจัดกลิ่นเหม็นของกายทารกเหล่านั้น การอบตัวอย่างนี้ไม่ควร.
อนึ่ง หากทารกที่มีบุญ เขาให้นอนบนระหว่างขาทั้ง 2 เอา
น้ำมันทาไคลอวัยวะเพื่อให้มือ เท้า ขา ท้องเป็นต้น ได้สัดส่วน. การ
ไคลตัวอย่างนี้ไม่ควร.
บทว่า นฺหาปนํ ได้เเก่การอาบ เหมือนอาบน้ำหอมเป็นต้น ให้
ทารกเหล่านั้นแหละ.
บทว่า สมฺพาหนํ ได้แก่นวด เหมือนพวกนักมวยรุ่นใหญ่ ใช้